เมนู

สีหวรรคที่ 5


สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีจึงตรัสถามต่อไปว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระผู้
เป็นเจ้านาคเสน องค์แห่งราชสีห์ 7 ประการนั้นเป็นไฉน คือสิ่งไรบ้าง
พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ
ธรรมดาว่าราชสีห์เหล่าปัณฑุ ย่อมเป็นสัตว์ขาวบริสุทธิ์ผุดผ่องปราศจากมลทิน ยถา มีครุวนา
ฉันใด พระโยคาวจรเจ้า ก็เป็นผู้มีสันดานขาวบริสุทธิ์ผุดผ่องปราศจากมลทิน ไม่มีความรังเกียจ
ต่อความประพฤติปฏิบัติ ดุจราชสีห์อันขาวบริสุทธิ์ฉันนั้น นี่แหละเป็นองค์แห่งราชสีห์
เป็นปฐม
ปุน จ ปรํ อีกประการหนึ่งเล่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร ธรรมดาว่า
ราชสีห์ย่อมเที่ยวไปด้วยเท้า 4 ประกอบด้วยลีลาศอันงดงาม ยถา มีครุวนาฉันใด พระโยคาวจร
เจ้า ก็เที่ยวไปด้วยอิทธิบาททั้ง 4 ประการ ดุจราชสีห์ฉันนั้น นี่แหละเป็นองค์แห่งราชสีห์ คำรบ 2
ปุน จ ปรํ อีกประการหนึ่งเล่า มหาราช ดูรานะบพิตรผู้มีศักดิ์เป็นอัครกษัตริย์อัน
ประเสริฐ ธรรมดาว่าราชสีห์ ย่อมมีรูปงามและมีสร้อยที่คอสวยสะอาดรุ่งเรืองรูจี ยถา มีครุวนา
ฉันใด พระโยคาวจรเจ้า ก็มีรูปงามและมีสร้อยคอคือศีลรุ่งเรืองรูจีเหมือนฉันนั้น นี่แหละ
เป็นองค์แห่งราชสีห์ คำรบ 3
ปุน จ ปรํ อีกประการหนึ่งเล่า มหาราช ดูรานะบพิตรผู้มีศักดิ์เป็นอัครกษัตริย์
อันประเสริฐ ธรรมดาว่าราชสีห์ แม้จะต้องเสียชีวิตถึงแก่ความตาย ก็มิได้ย่อมอ่อนน้อม
แก่สัตว์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมยอมตาย จะได้เสียดายชีวิตหามิได้ ยถา มีครุวนาฉันใด พระ
โยคาวจรเจ้า ก็ย่อมเสียสละชีวิต จะได้ประจบคฤหัสถ์เป็นกูลทูสกะหาปัจจัย 4 คือ จีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานเภสัชเลี้ยงชีวิตหามิได้ ดุจราชสีห์อันสู้สละชีวิตฉันนั้น นี่แหละ
เป็นองค์แห่งราชสีห์ คำรบ 4
ปุน จ ปรํ อีกประการหนึ่งเล่า มหาราช ดูรานะบพิตรผู้เป็นอัครกษัตริย์อัน
ประเสริฐ ธรรมดาว่าราชสีห์ย่อมหาอาหารไปโดยลำดับ ได้อาหารในที่ใด ก็บริโภคในที่นั้น พอ
แก่ประโยชน์ จะได้เลือกเอาแต่เนื้อที่ดี ๆ นั้นหามิได้ ยถา มีครุวนาฉันใด พระโยคาวจรเจ้า ก็
เที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับตรอก จะได้เลือกตระกูลหรือเลือกโภชนาหารหามิได้ แสวงหาได้
ในที่ใดก็บริโภคในที่นั้น ด้วยความประสงค์จะดำรงสรีระร่างกายให้เป็นไปเท่านั้น และจะได้
เลือกว่าโภชนะประเสริฐหรือไม่ประเสริฐก็หามิได้ ดุจราชสีห์ฉันนั้น นี่แหละเป็นองค์แห่งราชสีห์
คำรบ 5

ปุน จ ปรํ อีกประการหนึ่งเล่า มหาราช ดูรานะบพิตรผู้มีศักดิ์เป็นอัครกษัตริย์
อันประเสริฐ ธรรมดาว่าราชสีห์ จะได้กระทำสันนิธิ เก็บอาหารไว้บริโภคอีกหามิได้ บริโภคเนื้อ
คราวเดียวแล้ว ก็ไม่เก็บไว้บริโภคอีกต่อไป ยถา มีครุวนาฉันใด พระโยคาวจรเจ้า ก็มิได้
กระทำสันนิธิเก็บปัจจัยไว้บริโภค ดุจราชสีห์ฉันนั้น นี่แหละเป็นองค์แห่งราชสีห์ คำรบ 6
ปุน จ ปรํ อีกประการหนึ่งเล่า มหาราช ดูรานะบพิตรผู้มีศักดิ์เป็นอัครกษัตริย์อัน
ประเสริฐ ธรรมดว่าราชสีห์เมื่อหาอาหารไม่ได้ ก็ไม่สะดุ้งตกใจ แม้ว่าหาได้ ก็มิได้มัวเมา
บริโภค ยถา มีครุวนาฉันใด พระโยคาวจรเจ้าเที่ยวบิณฑบาตไม่ได้ ก็ไม่สะดุ้งตกใจ แม้ว่าได้ก็
มิได้มัวเมา พิจารณาเห็นโทษแห่งอาหารบริโภค ดุจราชสีห์ฉันนั้น นี่แหละเป็นองค์แห่ง
ราชสีห์ คำรบ 7 ยุติด้วยพระพุทธฎีกา ที่พระมหากรุณาตรัสสรรเสริญพระมหากัสสปเถรเจ้า
ไว้ในยุตตนิกายอันประเสริฐว่า
สนฺตุฏฺโฐยํ ภิกฺขเว กสฺสโป อิตรีตเรน จีวเรน อิตรีเนร ปิณฺฑปาเตน
อิตรีตรปิณฺฑปาตสนฺตุฏฺฐิยา จ วณฺณวาที น จ ปิณฺฑปาตเหตุ อเนสนํ อปฺปฏิรูปํ อาปชฺชติ

เป็นอาทิ
มีใจความว่า ภิกฺขเว ดูรานะภิกษุทั้งหลายผู้ทรงศีลบริสุทธิ์ สำแดงกัสสปนี้ เป็นผู้
สันโทษด้วยจีวรและบิณฑบาตตามมีตามได้ เจ้ากูย่อมสรรเสริญแห่งความสันโดษ ในบิณฑบาต
เมื่อเที่ยวบิณฑาตไม่ได้ ก็ไม่สะดุ้งตกใจ ครั้นแลว่าได้ ก็มิได้สยบมัวเมา เป็นผู้เห็นโทษในอัน
บริโภคปัจจัย พวกเธอทั้งหลายพึงกระทำตามที่ตถาคตตรัสให้ฟังนี้ทุกประการ ดังนี้ ขอถวาย
พระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร จึงตรัสถามต่อไปว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาค
เสนผู้ปรีชา ที่พระผู้เป็นเจ้ากล่าวว่า องค์แห่งนกจากพราก 3 ประการนั้นเป็นอย่างไร
พระนาคเสนจึงวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้เป็นอัคร-
กษัตริย์อันประเสริฐ ธรรมดาว่านกจากพรากจะได้สละภรรยานั้นหามิได้ ย่อมเป็นคู่อยู่เคียงกัน
ไปจนสิ้นชีวิต ยถา มีครุวนาฉันใด พระโยคาวจรเจ้าก็มิได้ทอดทิ้งเสียซึ่งโยนิโสมนสิการ จน
ตลอดชีวิต เหมือนนกจากพรากฉันนั้น นี่แหละเป็นองค์แห่งนาจากพรากเป็นปฐม
ปุน จ ปรํ อีกประการหนึ่งเล่า มหาราช ดูรานะบพิตรผู้เป็นอัครกษัตริย์อันประเสริฐ
ธรรมดาว่านกจากพรากย่อมบริโภคหอยและสาหร่ายใบไม้เป็นอาหาร และสันโดษยินดีอยู่ด้วย
หอยสาหร่ายและใบไม้เหล่านั้น นกจากพรากนั้นก็มิไดเสื่อมจากกรรม กายและผิวพรรณตั้งอยู่

ได้เป็นปรกติ ยถา มีครุวนาฉันใด พระโยคาวจรเจ้าสันโดษด้วยปัจจัยตามมีตามได้ ก็มิได้เสื่อม
จากศีล สมาธิ ปัญญา และวิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ สรรพกุศลธรรมทุกประการ ตั้งอยู่ได้
เป็นปกติ ดุจนกจากพรากฉันนั้น นี่แหละเป็นองค์แห่งนกจากพรากคำรบ 2
ปุน จ ปรํ อีกประการหนึ่งเล่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ
ธรรมดาว่านกจากพรากย่อมมิได้ฆ่าสัตว์ฉันใด พระโยคาวจรเจ้า ก็วางท่อนไม้และศัสตราอาวุธ
เสีย มีความละอายอยู่มิได้ฆ่าสัตว์ทั้งหลายเป็นผู้ประกอบไปด้วยจิตเมตตากรุณาแก่สัตว์ทั้งหลาย
ดุจนกจากพรากมิได้ฆ่าสัตว์ฉันนั้นนี่แหละเป็นองค์แห่งนกจากพรากคำรบ 3 ยุติด้วยพระพุทธฏีกา
ที่สมเด็จพระมหากรุณาสัมมาสัมพุทธภควันตบพิตรเจ้าตรัสพระสัทธรรมเทศนา ในจักกวาก
ชาดกว่า
โย น หนฺติ น ฆาเฏติ น ชินาติ น ชาปเย
เมตฺโต โส สพฺพภูเตสุ เวรํ ตสฺส น เกนจิ

มีความว่า บุคคลผู้ใดไม่เบียดเบียนสัตว์เองก็ดี ไม่ใช่ให้คนอื่นเบียดเบียนก็ดี และมิได้
ชนะเอง มิให้คนอื่นชนะ ท่านบุคคลผู้นั้นเป็นผู้มีเมตตาในสรรพสัตว์ทั่วไป จะได้มีเวรติดตาม
เกี่ยวข้องกับด้วยผู้ใดผู้หนึ่งหามิได้ ดังนี้ ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีจึงมีพระราชโองกาตรัสถามปัญหาต่อไปว่า ภนฺเต
นาคเสน ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าผู้ปรีชาเฉลิมปราชญ์ พระผู้เป็นเจ้ากล่าวไว้ว่า องค์ 2 แห่งนางนก
เงือกนั้น เป็นประการใดเล่า
พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร
ธรรมดาว่านางนกเงือก ย่อมริษยาแก่ผัวของตน หึงหัวตน ให้อยู่รักษาแต่ลูกในโพรง แล้วคาบ
เหยื่อที่พึงใจไปใส่ลงในโพรง ปิดปากโพรงเสียด้วยสิ่งอันลามก เลี้ยงสามีไว้ในโพรง ถามการเกน
ด้วยกำลังตน ยถา มีครุวนาฉันใด พระโยคาวจรเจ้าก็พึงอย่าได้อินังน้อมจิตไปในกิเลส เมื่อ
กิเลสจะเข้ามาใกล้ พึงใส่ลงไปในโพรงคือศีลสังวร แล้วพึงชื่นชมยินดีในกายคตสติด้วย
มโนทวาร เปรียบดังนางนกเงือกเมื่อฟักไข่ อันหึงผัวให้อยู่ในโพรงแล้ว คาบเอาสิ่งลามกปกปิด
ปากโพรงไว้ เลี้ยงสามีตามชาติของตนฉันนั้น นี่แหละเป็นองค์แห่งนางนกเงือกเป็นปฐม
ปุน จ ปรํ อีกประการหนึ่งเล่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร ผู้มีศักดิ์เป็น
อัครกษัตริย์อันประเสริฐ เวณาหิกา นาม ชื่ออันว่านางนกเงือกนั้น เที่ยวไปแสวงหาเหยื่อ เมื่อ
เวลาเย็นก็บินมาสู่ฝูงแห่งตน เพื่อป้องกันรักษากายไว้ ยถา มีครุวนาฉันใด พระโยคาวจรเจ้า
เมื่อส้องเสพซึ่งเสวิตัพพธรรมอันตนรักษา อยู่ในที่อันวิเวกแต่ผู้เดียว เพื่อพ้นจากสัญโญชน-

ธรรมทั้งปวง เมื่อหมดความยินดีในที่นั้นแล้ว ก็กลับมาสู่หมู่คณะสงฆ์ เพื่อจะดับเสียซึ่ง
ความข้อนขอดครหาและภัยทั้งปวง นี่แหละเป็นองค์แห่งนางนกเงือกเป็นคำรบ 2 ยุติด้วย
คำอันท้าวสหัมบดีพรหมกราบทูลแก่สมเด็จพระทศพลญาณเจ้าไว้
เสเวถ ปนฺตานิ เสนาสนานิ
จเรยฺย สํโยชนวิปฺปโมกฺขํ
สเจ รตึ นาธิคจฺเฉยฺย ตตฺถ
สงฺเฆ วเสยฺย รกฺขิตตฺตา สติมา

มีความว่า พระโยคาวจรเจ้า ซึ่งปรารถนาจะพ้นจากสังโยชน์ พึงมาเสพซึ่งเสนาสนะอัน
สงัด ประพฤติธรรมที่จะพ้นจากสังโยชน์แม้ยินดีแล้ว พึงกลับเข้าอยู่ในหมู่สงฆ์ เพื่อจะได้รักษา
ไว้ซึ่งตนดังนี้
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี จึงมีพระราชโองการตรัสถามต่อไปว่า ภนฺเต นาค-
เสน
ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าผู้ปรีชาเฉลิมปราชญ์ อันว่าองค์แห่งนกระจอกอย่าง 1 นั้น เป็น
ประการใด
พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร ผู้มีศักดิ์เป็น
อัครกษัตริย์อันประเสริฐ ฆรโปตโก นาม ชื่อว่านกกระจำนั้น อาศัยเรือนอยู่อื่นอยู่ จะได้ถือ
เอานิมิตแห่งสิ่งของอันใดของเขาไปหามิได้ มีในมัธยัสถ์มากด้วยสัญญาอาศัยอยู่ ยถา มี
ครุวนาฉันใด พระโยคาวจรเจ้าเมื่อเข้าไปสู่ตระกูล ก็ไม่พึงถือเอานิมิตในที่นั่งและที่นอน ใน
เครื่องประดับและผ้า หรือเครื่องอุปโภคบริโภคและภาชนะวิกัติทั้งหลาย เมื่อเข้าไปก็พึงมัธยัสถ์
กำหนดสัญญาว่า ตนเป็นสมณะดังนี้ นี่แหละเป็นองค์อัน 1แห่งนกกระจอก ยุติด้วยพระพุทธ
ฎีกาที่สมเด็จพระบรมโลกนาถศาสดาสัมมาสัมพุทธภควันตบพิตร ตรัสพระสัทธรรมเทศนาไว้
ในจุลนารทชาดกว่า
ปวิสิตฺวา ปรกุเล ปาเนน โภชเนน วา
มิตํ ขาเท มิตํ ภุญฺเข น จ รูเป มนํ กเร

มีความว่า ธรรมดาภิกษุจะไปสู่ตระกูลอื่น ด้วยต้องการปานะและโภชนะนั้น พึงเคี้ยว
กินบริโภคกินซึ่งปานะและโภชนะที่เขาให้ด้วยความนับถือ แต่อย่างหึงกระทำใจให้หลงไปในรูป
ขอถวายพระพร

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นนราธิบดีบรมกษัตริย์ มีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต
นาคเสน
ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าพระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้ากล่าวไว้ว่าองค์ 2 แห่งนกเค้านั้น เป็น
ประการใด
พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้มีศักดิ์ เป็น
อัครกษัตริย์อันประเสริฐธรรมดาว่านกเค้าเป็นศัตรูกับกา ครั้นเวลากลางคืนก็ตีฝูงกาเป็นอันมาก
ยถา มีครุวนาฉันใด พระโยคาวจรเจ้าก็ไม่เข้ากันกับอวิชชา แต่อาตมาผู้เดียวเข้าไปในที่สงัด
พึงรบพุ่งย่ำยีเสียซึ่งตัวอวิชชานั้น ตัดให้ขาดสูญตลอดราก ตถา ดังนกเค้าอันตีซึ่งฝูกกาฉันนั้น
นี่แหละเป็นองค์แห่งนกเค้าเป็นปฐม
ปุน จ ปรํ อีกประการหนึ่งเล่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร ผู้มีศักดิ์เปฺน
อัครกษัตริย์อันประเสริฐ ธรรมดาว่านกเค้าอยู่ป่าลับเร้นซ่อนอยู่ ยถา มีครุวนาฉันใด พระ
โยคาวจรเจ้าก็พึงยินดีในที่เร้นที่สงัด ปานดังนกเค้าฉันนั้น นี่เป็นองค์แห่งนกเค้า คำรบ 2 ยุติ
ด้วยพระพุทธฎีกา ที่สมเด็จพระมหากรุณาธิคุณเจ้า ตรัสไว้ในสังยุตตนิกายว่า
ปฏิสลฺลฺโน ภิกฺขเว โยคมาปชฺชถ ปฏฺสลฺลิโน ภิกฺขเว ภิกฺขุ ปฏิสลฺลานาราโม ปฏิ-
สลฺลานรโต อิทํ ทุกฺขนฺติ ยถาภูตํ ปชานาติ อยํ ทุกฺขสมุทโยติ ฯเปฯ อยํ ทุกฺขนิโธติ ฯเปฯ
อยํ ทุกฺขนิโรธคามินีปฏิปทาติ ยถาภูตํ ปชานาติ

แปลความว่า ภิกฺขเว ดูรานะสงฆ์ ท่านจงปฏิบัติหาที่สงัดชมฌานเถิด พระโยคาวจร
เจ้าผู้ใด กำหนัดยินดีในการชมฌานแล้ว พระโยคาวจรเจ้านั้น อาจรู้ดังนี้ อิทํ คือสิ่งนี้แหละ
เรียกว่าทุกข์ อาจรู้ว่าสิ่งนี้แหละเป็นทุกขสมุทัย อาจรู้ว่า สิ่งนี้แหละเป็นทุกขนิโรธ อาจรู้ว่าสิ่งนี้
แหละเป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาดังนี้ ขอถวายพระพระ
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี จึงมีพระราชโองการตรัสถามด้วยองค์ 1 แห่ง
ตะขาบต่อไป
พระนาคเสนจึงวิสัชนาว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้มีศักดิ์เป็นอัคร-
กษัตริย์อันประเสริฐ ธรรมดาว่าตะขาบถ้าร้องขึ้นแล้ว ย่อมบอกเหตุแห่งความเกษม และภัย
แห่งบุคคลอื่นฉันใด พระโยคาวจรเจ้าก็สำแดงธรรมบอกอกุศลกรรมว่า อกุศลกรรมจะนำไปสู่
อบาย ส่วนกุศลจะให้ผลนำไปสวรรค์ บอกเหตุดีและชั่วแก่ประชาชนทั้งปวง ดุจตะขาบอันร้อง
ฉันนั้น นี่แหละเป็นองค์อัน 1 แห่งตะขาบ ยุติด้วยคำที่พระบิณโฑลภารทวารเถระผู้เป็นเจ้า
กล่าวไว้ว่า

นิรเย ภยสนฺตาสํ นิพฺพาเน วิปุลํ สุขํ
อุภยาเนตานิ อตฺถานิ เทสิตพฺพานิ โยคินา

แปลว่าธรรมดาพระโยคาวจรเจ้า พึงสำแดงบาปบุญคุณโทษโปรดเวไนยชนทั้งปวง และ
พึงสำแดงทางพระนิพพาน อันเป็นแก่นสารนำมาซึ่งสุขอันไพบูลย์ และพึงสำแดงซึ่งประโยชน์ 2
ประการดังนี้ ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี จึงมีพระราชโองการตรัสถามด้วยองค์ 2 แห่งค้าง
คาวต่อไป
พระนาคเสนจึงวิสัชนาว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้มีศักดิ์เป็น
อัครกษัตริย์อันประเสริฐ ธรรมดาว่าค้างคาว เที่ยวไปในเรือนอื่นแล้ว ย่อมออกไป จะได้กังวล
อาลัยอยู่ที่เรือนนั้นหามิได้ ยถา มีครุวนาฉันใด พระโยคาวจรเจ้าเข้าไปบิณฑบาตในบ้านแล้ว
ก็มิได้อาลัยกังวลอยู่ด้วยบ้าน ปานดุจค้างคาวอันบินไปสู่เรือนผู้อื่น มิได้อาลัยที่จะอยู่นั้น นี่
แหละเป็นองค์แห่งค้าวคาวเป็นปฐม
ปุน จ ปรํ อีกประการหนึ่งเล่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ
ธรรมดาว่าค้างคาวเมื่อไปอยู่ในตระกูลอันอื่น ก็มิได้กระทำความฉิบหายให้คนทั้งหลายนั้น
ยถา มีครุวนาฉันใด พระโยคาวจรเจ้าเข้าไปสู่ตระกูลอันใด ก็มิให้ตระกูลอันนั้นเดือดร้อน อติยา-
ปนพหุลตาย วา
ด้วยความมักมากยิ่งประมาณก็ดี อติวิญฺญตฺติพหุลตาย วา ด้วยวิญญัติยิ่ง
ประมาณก็ดี อติพหุภาณิตาย วา ด้วยภาวะพูดมากยิ่งก็ดี สมานสุขทุกฺขตาย วา ด้วยภาวะ
เสมอด้วยสุขและทุกข์ก็ดี อตฺตโน มูลกํ ธมฺมํ ประการหนึ่ง จะได้ธรรมเนียมของตนเสื่อมไปก็
หามิได้ พึงยังความจำเริญให้มีโดยส่วนเดียว นี่แหละเป็นองค์แห่งค้าวคาวคำรบ 2 ยุติ
ด้วยพระพุทธฏีกาที่สมเด็จพระมหากรุณาธิคุณเจ้า กล่าวไว้ในลักขณะสังยุตตสูตรในทีฆนิกายว่า
สทฺธาย สีเลน สุเตน พุทฺธิยา
จาเคน ธมฺเมน พหูหิ สาธุภิ
ธเนน ธญฺเญร จ เขตฺตวตฺถุนา
ปุตฺเตหิ ทาเรหิ จตุปฺปเทหิ จ
ญาตีหิ มิตฺเตหิ จ พนฺธเวหิ
พเลน วณฺเณน สุเขน จูภยํ

กถํ น หาเยยฺยุนฺติ ปเรติ อิจฺฉติ
อทฺธํ สมิทฺธญฺจ ปนาภิกงฺขติ

มีความว่า พระโยคาวจรเจ้า ย่อมปรารถนาต่อชนเหล่าอื่นว่า เป็นไฉนหนอ มหาชน
ทั้งหลายจะไม่พึงเสื่อมจากศรัทธา และศีล สุตะ จาคะ ปัญญา และกุศลธรรม สัปปุริสธรรม
เป็นอันมาก และเงินทอง ข้าวของไร่นาเรือกสวนและบุตรภรรยา สัตว์ 2 เท้า 4 เท้า และญาติมิตร
พวกพ้องวงศ์วาร และพละวรรณะสุขะ ในโลกนี้และโลกหน้าทั้ง 2 ประการ และพรโยคาวจร
เจ้านั้นย่อมมาจำนงใจ ให้เขามั่งคั่งสมบูรณ์ด้วยสิ่งเหล่านั้น ดังนี้ ขอถวายพระพรบพิตรพระ
ราชสมาภาร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี จึงมีพระราชโองการตรัสถามต่อไปว่า ภนฺเต นาค-
เสน
ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้านาคเสนผู้ปรีชาเฉลิมปราชญ์ พระผู้เป็นเจ้ากล่าวว่า องค์อัน 1 แห่ง
ปลิงนั้น เป็นประการใดเล่า
พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้มีศักดิ์เป็น
อัครกษัตริย์อันประเสริฐ ธรรมดาว่าปลิง เกาะอยู่ในคนและสัตว์ใดแล้ว ก็เกาะมั่นและหมั่นสูบ
กินซึ่งโลหิต ยถา มีครุวนาฉันใ ด พระโยคาวจรเจ้าปรารถนาอักนำจิตไปในอารมณ์ภาวนาฉันใด
พึงยึดเอาอารมณ์ภาวนาอันนั้นให้มั่น โดยสัณฐาน โดยเพศ โดยนิมิตแล้วพึงเสพซึ่งวิมุตติรส
ด้วยอารมณ์ฉันนั้น นี่แหละเป็นองค์อัน 1 แห่งปลิง ยุติด้วยถ้อยคำอันพระอนุรุทธเถรเจ้า
กล่าวไว้ว่า
ปริสุทฺธวิมลจิตฺเตน อารมฺมเณ ปติฏฺฐเปตฺวา
เตน จิตฺเตน ปาตพฺพํ วิมุตฺติรสมเสจนํ

แปลความในพระคาถาว่า พระโยคาวจรเจ้าพึงตั้งไว้ซึ่งอารมณ์ด้วยจิตอันบริสุทธิ์หา
มลทินมิได้ แล้วพึงเสพซึ่งวิมุตติรสอันเป็นเครื่องให้เกิดปีติยินดีด้วยจิตนั้น ดังนี้ ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี จึงมีพระราชโองการตรัสถามว่า องค์แห่งงู 3
ประการนั้น ประการใดเล่า
พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ
ธรรมดาว่างูย่อมเลื้อยไปด้วยอุระ ยถา มีครุวนาฉันใด พระโยคาวจรเจ้าก็พึงเที่ยวไปด้วยปัญญา
และท่านย่อมเว้นเสียซึ่งสิ่งปราศจากลักษณะ เจริญแต่สิ่งที่มีลักษณะ คือ พระไตรลักษณญาณ
ฉันนั้น นี่แหละเป็นองค์แห่งงูเป็นปฐม

ปุน จ ปรํ อีกประการหนึ่งเล่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้มีศักดิ์เป็น
อัครกษัตริย์อันประเสริฐ สปฺโป ธรรมดาว่างูนั้นเที่ยวไปปะต้นยาเข้า ก็เลี่ยงหลีกไปให้พ้นต้นยา
ยถา มีครุวนาฉันใด พระโยคาวจรเจ้าพึงงดเว้นเสียซึ่งทุจริต ดุจงูอันหลีกให้พ้นต้นยาฉะนั้น นี่
แหละเป็นองค์แห่งงู คำรบ 2
ปุน จ ปรํ อีกประการหนึ่งเล่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร ผู้มีศักดิ์เป็น
อัครกษัตริย์อันประเสริฐ สปฺโป อันว่างู ครั้นกัดมนุษย์เข้าแล้วก็คิดจะหลีกหลบไป ยถา มีครุวนา
ฉันใด พระโยคาวจรเจ้ากำจัดเสียซึ่งวิตกผิดแล้ว ห้ามปรามมิให้ความไม่ยินดีบังเกิด พึงวิตก
โดยมากว่า วันล่วงไปได้เท่านี้แล้ว ไม่ควรประมาท เหตุว่าวันล่วงแล้วมิอาจจะกลับได้ ดังนี้
นี่แหละเป็นองค์แห่งงูคำรบ 3 ยุติด้วยพระพุทธฎีกาที่สมเด็จพระมหากรุณาธิคุณเจ้าตรัสพระ
สัทธรรมเทศนาไว้ในกินนรชาดา โดยคำของกินนร 2 ตน กล่าวกะพรานป่าว่า
ยเมกรตฺตึ วิปฺปวสิมฺห ลุทฺธก
อกามกา อญฺญมญฺญํ สริตฺวา
ตเมว รตฺติมนุตปฺปามานา
โสจาม สา รตฺติ ปุนนฺนเหสฺสติ

มีความว่า ดูรานะพรานป่า เราพลัดพรากจากกันราตรีใด ก็เร่าร้อนโศกเศร้า ด้วยเรา
ระลึกถึงกันตลอดราตรีนั้น และเราจะได้ราตรีที่พลัดกันคืนมาอีกหามิได้ ดังนี้ ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี จึงมีพระราชโองการตรัสถามด้วยองค์แห่งงูเหลือม
ต่อไปว่า องค์แห่งงูเหลือมอัน 1 นั้น เป็นไฉน
พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมาภารผู้มีศักดิ์เป็น
อัครกษัตริย์อันประเสริฐ อชคโร นาม ชื่อว่างูเหลือม มหตี มหากาโย เป็นสัตว์ใหญ่ มีกาย
อันใหญ่ มีท้องเหี่ยวแห่งอยู่หลายวัน เหตุว่าหาอาหารไม่ได้เต็มท้อง และงูเหลือมนั้นเลี้ยง
ีชีวิตตนตามประมาณอาหาร ยถา มีครุวนาฉันใด พระโยคาวจรเจ้าเที่ยวไปบิณฑบาตได้ อาหาร
มาก ก็พึงบริโภคพอเป็นยาปนมัตฉันนั้น แม้ได้อาหารน้อยแต่ 4 คำ หรือ 5 คำ พึงขยำกับ
อุทกังแล้วจึงฉัน นี่แหละเป็นองค์อัน 1 แห่งงูเหลือม ยุติด้วยถ้อยคำอันพระธรรมเสนาบดี
สารีบุตรเถรเจ้า กล่าวไว้ว่า
อลฺลํ สุกฺขํ จ ภูญฺชนฺโต น พาฬฺหํ สุหิโต สิยา
อูนูทโร มิตฺตาหาโร สโต ภิกฺขุ ปริพฺพเช

จตฺตาโร ปญฺจ อาโลเป อภุตฺวา อุทวํ ปิเว
อลํ ผาสุวิหารราย ปหิตตฺตสฺส ภิกฺขุโน

มีความว่า ธรรมดาเป็นภิกษุ เมื่อได้บริโภคอาหารอันสดก็ดีแห้งก็ดี อย่าได้หวัง
ประโยชน์ดีในการบริโภคหนักนัก ประการหนึ่งพึงให้ท้องพร่องไว้ บริโภคแต่พอประมาณ มีสติ
เว้นคำข้าวไว้เพียง 4 คำหรือ 5 คำ อย่าให้อิ่มเต็มที่นัก ครั้นไม่ได้บริโภคแล้วพึงดื่มกินซึ่งน้ำ
ทำดังนี้แหละ สมควรแก่ภิกษุผู้เป็นโยคาวจรนั้น เพื่อจะได้อยู่เป็นสุขสำราญ ดังนี้ ขอถวาย
พระพร
จบสีหวรรคที่ 5 แต่เพียงนี้
ในที่สุดวรรคนี้ พระคันถรจนาจารย์เจ้า ผูกอุทานคาถา กล่าวหัวข้อบทมาติกา ที่แสดง
มาข้างต้นนั้นไว้ว่า
เกสรี จกฺกวาโก จ เวณาหิ ฆรโปตโก
อุลฺลุโก สตปตฺโต จ วคฺคุลี เจว ชลฺลุกา
สปฺโป อชคโร เจว วคฺโค เตน ปวุจฺจติ

มีใจความว่า องค์แห่งราชสีห์ องค์แห่งนกจากพราก องค์แห่งนกเงือก องค์แห่ง
นกกระจอก องค์แห่งนกเค้า องค์แห่งตะขาบ องค์แห่งค้างคาว องค์แห่งปลิง องค์แห่งงู
องค์แห่งงูเหลือม เหล่านี้ท่านจัดเป็นวรรคหนึ่งดังนี้แล

มักกฏกวรรค ที่ 6


สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี จึงมีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต นาคเสน
ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้านาคเสนอันปรีชาเฉลิมปราชญ์ ผู้เป็นเจ้ากล่าวว่า องค์แห่งแมงมุมทำรังใกล้
ทางอย่าง 1 นั้น เป็นประการใด
พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร ผู้มีศักดิ์เป็น
อัครกษัตริย์อันประเสริฐ ธรรมดาว่าแมงมุมนั้นย่อมชักใยเป็นข่ายเป็นเพดานไว้ สัตว์ทั้งหลาย
คือแมลงหวี่แหละแมลงวัน บินไปติดอยู่ที่ข่ายที่เพดานนั้น แมงมุมก็บริโภคสัตว์ที่ติดข่ายนั้นเป็น
ภักษาหาร ยถา มีครุวนาฉันใด พระโยคาวจรเจ้านั้น ก็ขึงเพดานคือ สติปัฏฐาน และปิดทวารทั้ง
6 ไว้ มาตรว่าแมลงวันคือกิเลสได้เข้าไปติดอยู่ในเพดานนั้น ก็พึงจับฆ่าเสียฉันนั้น นี่แหละเป็น
องค์อัน 1 แห่งแมงมุมชักใย ยุติด้วยคำอันพระอนุรุทธเถรเจ้ากล่าวไว้ว่า
วิตานํเยว ฉทฺวาเรสุ สติปฏฺฐานวรุตฺตมํ
กิเลสา ตตฺถ ลคฺเคตฺวา หนฺตพฺพา เต วิปสฺสกา

แปลความว่า ธรรมดาโยคาวจรเจ้า อันเรียนวิปัสสนาพึงขึงเพดานคือสติปัฏฐาน ปิด
ทวารนั้น 6 ไว้ เมื่อกิเลสเข้าไปอยู่ก็จับฆ่าเสียดังนี้ ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี จึงมีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต นาคเสน
้ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าอันปรีชาเฉลิมปราชญ์ องค์อัน 1 แห่งทารกอันดูดนมมารดานั้นอย่างไรเล่า
พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ
ธรรมดาว่าทารกที่ดูดนมมารดานั้น ย่อมแสวงหาประโยชน์ด้วยน้ำนม ร้องไห้อ้อนวอนกินนม
มารดา ยถา มีครุวนาฉันใด พระโยคาวจรเจ้าก็พึงแสวงหาประโยชน์แห่งตน พึงรักซึ่งธรรม
ทั้งหลายหมายประโยชน์ และประกอบความเพียรอยู่ในที่อันสงัด พึงส้องเสพกัลยาณมิตรอัน
สมควร พอใจอยู่ในสำนักครูบาอาจารย์ พึงเล่าเรียนซึ่งพระอรรถกถาบาลี อันจะเกิดประโยชน์
แห่งตนฉันนั้น นี่แหละเป็นองค์อัน 1 แห่งพาลทารกดูกนมมารดา สมด้วยพระพุทธฎีกาที่สม
เด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในมหาปรินิพพานสูตร มีในทีฆนิกายว่า
อิงฺฆ ตุมฺเห อานนฺท สทตฺโภ วายมถ สทตฺเถ อนุยุญฺขถ สทตฺเถ อปฺปมตฺตา อาตาปิโน
ปหิตตฺตา วิหรถ

มีความว่า อานนฺท ดูรกสำแดงอานนท์ อิงฺฆ ดังตถาคตจะเตือน ท่านจงพยายาม
ในประโยชน์แห่งตน อนุยุญฺชถ จงประกอบซึ่งประโยชน์ตน ท่านอย่างได้ประมาทในประโยชน์ตน
จงเป็นผู้มีความเพียร ส่งจิตไปในสมาธิ ดังนี้ ขอถวายพระพร